บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ความหมายของวิปัสสนากรรมฐาน


เรามาวิพากษ์วิจารณ์หัวข้อคือ “ธุระในพระพุทธศาสนา” พระมหาโชดกบรรยายไว้เมื่อ วันจันทร์ที่  20  มิถุนายน  2503  กันต่อ

ถาม.  วิปัสสนากรรมฐานแปลและหมายความว่าอย่างไร?

ตอบ.  วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า โรงงานฝึกจิตให้เกิดปัญญา รู้แจ้งแทงตลอดสภาวธรรมตามความเป็นจริง

ขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตดูการเขียนถึง “วิปัสสนา” ของพระมหาโชดก จะเขียนไว้ “มั่ว” มากๆ หาจุดยืนอะไรไม่ได้  ทั้งๆ ที่ “วิปัสสนา” นั้น เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรมแบบพระพม่า

ตรงนี้หมายถึงว่า พระพม่าโกหกอย่างนั้น

แต่การโกหกของพระพม่า รวมถึงสาวกของพระพม่าทั้งหลาย ก็โกหกแบบไม่แนบเนียน มั่วไปหมด คนไทยใจพม่าทั้งหลาย มันก็โง่กันจริงๆ ที่ไปหลงเชื่ออยู่ได้

เฉพาะหัวข้อนี้ พระมหาโชดก เขียนถึงวิปัสสนาไว้ ดังนี้

วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา มีปรมัตถเป็นอารมณ์

วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า โรงงานฝึกจิตให้เกิดปัญญา รู้แจ้งแทงตลอดสภาวธรรมตามความเป็นจริง

วิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ย่อให้สั้น ได้แก่ รูปนาม เท่านั้น

จะเห็นว่า พระมหาโชดกเขียนไปเรื่อย หาจุดแน่นอนอะไรไม่ได้  และที่เขียนทั้งหมดนั้น มันมั่วด้วย วิปัสสนากรรมฐานไม่ควรมีความหมายที่หลากหลายแตกต่างกันถึงขนาดนั้น

อันที่จริงแล้ว ความหมายที่เกือบถูกต้องก็คือความหมายสุดท้าย ยกเว้นข้อความที่ผมเน้นตัวอักษรสีแดงและขีดเส้นใต้ไว้ เพราะ มหาโชดกใส่เข้าไปดื้อๆ โดยไม่มีหลักวิชาการ

พระมหาโชดกเชื่อตาม “หลักวิชากู” เพราะการที่หลงไปเชื่อพระพม่า

หมายความว่า ปัญญานั้น มี ๓ ขั้น คือ

๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจาการฟัง การเรียน การอ่านหนังสือต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม

๒. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปัญญาที่รู้แจงแทงตลอดสภาวธรรมตามความเป็นจริงนี้ได้แก่ ปัญญาอันเกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาเท่านั้น

ตรงนี้ก็บิดเบือนและโกหก 

หลักฐานสนับสนุนของผมก็คือ พระพม่าคิดวิธีการปฏิบัติธรรมขึ้นมาได้  ก็ให้รู้สึกตัวตลอดเวลา และพิจารณาพระไตรลักษณ์ไปด้วย 

พระพม่าทำได้แค่นี้  ไม่มีอะไรที่สูงไปกว่านี้ ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่านี้

วิธีการที่คิดมาได้นั้น ก็คิดโดยได้วิธีการมาจากศาสนาพุทธ แต่พระพม่าไม่ได้เชื่อศาสนาพุทธทั้งหมด แต่ดันเสือกไปเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า 

การเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นอะไรต่างๆ ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นไปไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ พระพม่าจึงไม่เชื่อ จึงปฏิเสธการเห็นทั้งหมด

แต่ก็ไม่รู้ว่า จะจับยัดวิธีการปฏิบัติของตนเองเขาไปตรงไหน  เห็นว่า สติปัฏฐาน 4 มีหัวข้ออิริยาปถบรรพ กับ สัมปชัญญบรรพ พอจะจัดยัดวิธีการปฏิบัติของตนเองไปได้

ก็ตีฆ้องร้องกล่าวว่า การปฏิบัติธรรมของตนนั้น เป็นสติปัฏฐาน 4  ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เลย

ต่อมา เห็นว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นแบ่งเป็นคันถุธุระกับวิปัสสนาธุระ ก็จับสติปัฏฐาน 4 เข้าไปในวิปัสสนากรรมฐานอีก  ทั้งๆ ที่ไม่ใช่อีก 

ประการสำคัญก็คือ วิปัสสนาธุระก็ไม่ใช่แค่วิปัสสนากรรมฐาน  แต่รวมถึงการปฏิบัติธรรมตามคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า

ดังท่านตั้งสังเคราะห์ไว้ว่า

วิวิธากาเรน อนิจฺจาทิวเสน ปัสฺสตีติ วิปัสฺสนา

ปัญญาใด ย่อมพิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญานั้นชื่อวิปัสสนา

ตรงนี้ เนื่องจากผมไม่รู้ภาษาบาลี จึงไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การแปล แต่ตรงนี้ ต้อง “เห็น” รูปนาม ด้วยการเห็นจริงๆ

พระมหาโชดกไม่เคยสอนให้ “เห็น” ดังนั้น ตรงนี้พระมหาโชดกก็บิดเบือนอีก

ถาม. วิปัสสนากรรมฐานนั้น มีวิธีเรียนได้กี่ทาง อะไรบ้าง?
ตอบ. เรียนได้ ๒ ทางคือ

๑. เรียนอันดับ คือ เรียนให้รู้จักวิปัสสนาภูมิ ๖ ก่อน ได้แก่ เรียนให้รู้จัก ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท โดยปริยัติก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อภายหลังก็ได้ วิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้มีเวลามาก

๒. เรียนสันโดษ คือ ไปเรียนวันนั้น ลงมือปฏิบัติวันนั้น ขณะนั้น ตามที่พระอาจารย์สอนให้ได้เลย เช่น วันแรกจะสอนให้ย่อๆ เพียง ๕ ข้อ เท่านั้น คือ
๑.  เดินจงกรม
๒.  นั่งลงภาวนา
๓.  กำหนดเวทนาต่างๆ
๔.  กำหนดใจนึกคิด
๕.  เวลานอน กำหนดท้องพองยุบ เป็นต้น

ตรงนี้ ผมงงไปนาน เพราะ ไม่รู้ว่าการปฏิบัติธรรมมีการแบ่งเป็น 2 ประเภทมาก่อนคือ การแบ่งแบบ “เรียนอันดับ” กับ “เรียนสันโดษ”

ผมเพิ่งไปพบข้อมูลดังกล่าวในหนังสือ  “พุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วยสมถแลวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๔ ยุค” ซึ่งหนังสือดังกล่าวเขียนไว้ ดังนี้



ตรงนี้จะเห็นว่า พระมหาโชดกก็มีสันดานเหมือนเดิม คือ “มั่ว” ไปเรื่อย  ไปยืมแค่คำศัพท์ของเก่ามา ดัดแปลงให้มั่วไปตามความเชื่อของท่าน

คือ ไปหาการเรียนอันดับ ซึ่งก็คือ การเรียนและปฏิบัติตามหัวข้อ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท  “วิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้มีเวลามาก

อะไรคือ เวลามาก เวลาน้อย พระมหาโชดกไม่กล้าบอก และไม่กล้าเขียนไว้ เพราะ มันเป็นคำโกหกคำโต ตามสันดานของพระมหาโชดก 

แล้วต่อมาก็คือ เรียนสันโดษ” ซึ่งที่จริงหมายถึงว่า พระอาจารย์ชำนาญเรื่องใดก็เรียน “เรื่องนั้น”  ต่อไปก็อาจจะต้องไปหาอาจารย์อื่นอีก

พระมหาโชดกไป “ขโมย” เพียงชื่อมา แล้วก็เอาของตัวเองใส่ลงไป ซึ่งไม่ตรงกับความหมายเดิมของหนังสือ “พุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วยสมถแลวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๔ ยุค” เลย.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น