หนังสือ
“หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน” ของพระมหาโชดกนี้ นอกจากจะมีคำปรารภของผู้จัดพิมพ์
คือ คณะกรรมการวิปัสสนาสาร จำนวน 5 หน้าแล้ว ยังมีปธานพจน์ของ... จำนวน 6 หน้า
ดังนี้
ข้อความที่เน้นสีเหลืองไว้
ที่ว่า “แต่วัดมหาธาตุฯ และประเทศไทยยังขาดพระปฏิบัติศาสนา
และพระปฏิเวธศาสนาอยู่” แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ของมหาอาจ
(สมเด็จพระพุฒาจารย์)
ปานนี้ก็คงไปนั่งเสียใจ
เสียดายอยู่ในสวรรค์ชั้น 1 พร้อมกับหน้าแตกไปด้วย
อย่างไรก็ยังดีกว่าพระมหาโชดก เพราะ ขานั้นไปไกลถึงอบายภูมิเลยทีเดียว
คงคิดถึงพระมหาสีสะยาดอ จึงไปอยู่ด้วยกัน
ที่ว่าเข้าใจผิดนั้น
ก็เพราะตอนนั้นพระในเมืองไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในทางสมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐานมีเป็นจำนวนมาก
มหาอาจดันไม่เชื่อพระไทย ทะลึ่งไปเชื่อพระพม่า
ในยุคนั้น
หลวงปู่มั่นก็ดังแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ดังแล้ว วัดมหาธาตุเอง
หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไปเทศน์และสอนวิชาธรรมกายเป็นประจำ
ข้อความที่เน้นสีเหลืองนั้น
แสดงให้เห็นธรรมชาติที่แปลกอย่างหนึ่งของมหาอาจ คือ
ท่านเห็นดีด้วยกับการสอนปฏิบัติธรรม ที่ท่าน “ไม่ทำเอง” กลับไปหาคนอื่นมาทำแทน
ในชีวิตนี้ของท่าน
ท่านก็ทำอย่างนั้นมาตลอด ในความเห็นของผม ผมก็ว่าแปลกดี
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ
งานการสร้างบารมีที่ได้จึงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย การที่ท่านมรณภาพไปแล้ว ไปได้เพียงสวรรค์ชั้น
1 ก็สมควรแก่ความคิดของท่านแล้ว
ขอเปรียบเทียบกับตัวผมเอง ในเมื่อผมเห็นด้วยกับคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ว่า
“ถ้าสอนใครให้เห็นดวงปฐมมรรค จะได้บารมีเท่ากับบวชพระ 10,000 รูป” ผมก็ไปเรียนกับคุณลุงการุณย์
แล้วก็ออกไปสอนเองเลย
ทำด้วยตัวเอง ไปพบไปเห็นใคร ที่มีแวว
ผมก็จะพาไปหาคุณลุง เปิดอบรมโฮมสเตย์
เปิดอบรมวัดอาทิตย์ก็เพื่อจะเสาะหาคนมาร่วมกันทำงานเป็นวิทยากร
ผมจึงเห็นว่า
มหาอาจคิดแปลกๆ ที่ไม่ลงมือ “ทำ” ด้วยตัวของท่านเอง
นอกจากมหาอาจจะไม่ทำด้วยตนเองแล้ว
ก็ยังคบเพื่อนที่ไม่ฉลาด ข้อความสีเขียวจึงเกิดขึ้น จึงพากันเข้ารกเข้าพงไปกันใหญ่
ต่อมาเข้าประเด็น
ตัวอักษรที่เน้นสีเขียวก่อน
เท่าที่อ่านประวัติของมหาโชดก
ไม่เคยมีข้อความที่ว่า “ท่านมีความชำนาญในภาษาพม่า” ดังนั้น
การไปเรียนเพียงปีเดียวของมหาโชดก ท่านจะมีความรู้ในระดับใด
นอกจากนั้น
การส่งพระพม่าเข้ามาคุมอีก 2 รูป ก็แสดงว่า
การเรียนของมหาโชดกคงไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
พระพม่ากลัวหน้าแตก ก็ต้องส่งพระมาคุมกันถึงในเมืองไทย
สุดท้ายเลย
ข้อความที่เน้นด้วยสีฟ้าที่ว่า
พระปฏิบัติศาสนา คือ การเจริญพระกรรมฐานอย่างถูกต้อง
ตามทัศนะของพระไตรปิฎกนั้น ได้อุบัติขึ้นแล้ว ภายในพื้นปฐพีมณฑลแห่งประเทศไทย ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมา ด้วยประการฉะนี้
ข้อความที่ว่านั้น
เป็นความเข้าใจผิดของมหาอาจเอง การปฏิบัติธรรมแบบพระพม่าที่มหาโชดกนำมาสอน ไม่ได้ตรงกับพระไตรปิฎก
ไม่ได้ตรงกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น