บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สติปัฏฐานกับวิปัสสนา

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2503 พระมหาโชดกได้เทศน์เรื่อง “พระพุทธเข้าทรงพร่ำสอนวิปัสสนา” มีเนื้อหาที่โกหกแบบหน้าด้านๆ แบบไม่น่าเชื่อเกิดขึ้น  อยู่ในหนังสือหน้า 13 ดังนี้

ถาม. การเจริญสติปัฏฐาน ๔ กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่างกันหรือเหมือนกัน?

ตอบ. เหมือนกันคือ เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ส่วนเนื้อความเป็นอันเดียวกัน เจริญวิปัสสนาก็คือเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เวลานั่งกำหนด ยืนกำหนด นอนกำหนด เดินกำหนด อยู่นั้น สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่พร้อมบริบูรณ์แล้ว เว้นไว้แต่ผู้นั้น จะไม่รู้ไม่เห็นเท่านั้น

ข้อความตรงนี้ มีทั้งผิด ทั้งแปลก ดังนี้

ที่ว่าผิดก็คือ  การปฏิบัติธรรมแบบพระพม่า ไม่ใช่ทั้งวิปัสสนากรรมฐาน และก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน 4 พระพม่าโกหกเอาดื้อๆ แบบไม่เป็นวิชาการ

วิปัสสนากรรมฐาน กับสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ตัวหนังสือต่างกัน การปฏิบัติธรรมก็ต่างกัน ที่เหมือนกันคือ “ต้องเห็น” เท่านั้น

วิปัสสนาแปลว่า “เห็นแจ้ง” 

ส่วนกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น เป็นการ “ตามเห็น” ซึ่ง กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

คือ เมื่อจิตสงบระงับแล้วจากสมถะกรรมฐาน ซึ่งต้องมีการเห็นแล้ว  ก็มาเห็นแจ้งใน ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ต่อจากนั้นก็ต้องมาตามเห็นในสติปัฏฐาน 4 ล้วนก็ต้องไปเห็นโพธิปักขยธรรมที่เหลืออีก

ที่ว่าแปลกก็คือ “เว้นไว้แต่ผู้นั้น จะไม่รู้ไม่เห็นเท่านั้น” ข้อความนี้ เป็นคำสอนที่ “โคตรงี่เง่า” และ “โคตรน่ารังเกียจ” ที่สุด  การที่พระมหาโชดกตายห่าไปแล้ว ตนนรกก็ไม่ต้องสงสัย

ข้อความที่ว่า “เว้นไว้แต่ผู้นั้น จะไม่รู้ไม่เห็นเท่านั้น” มีไว้สำหรับด่าคนที่ไม่เห็นด้วย และทำไม่ได้ ซึ่งมันไม่มีทำได้หรอก เพราะ พระพม่าสอนผิด

ที่ว่าทำตามได้ก็ “หลอกกันเองทั้งนั้น

ถาม. ถ้าเว้นจากวิปัสสนาเสียแล้ว ทางอื่นที่จะให้ถึงมรรค ผล นิพพานนั้นมีอีกหรือไม่? ยกหลักฐานประกอบ?

ตอบ. ไม่มีเลยฯ มีหลักฐานยืนยันอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า  “เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ฯลฯ ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา”  

ความว่า
ดูกร ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ทางคือสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นทางสายเดียวที่เป็นไปพร้อมเพื่ดความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจปริเวทยาการต่างๆ เพื่อดับทุกข์ ดับโทมนัส เพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพานดังนี้

ข้อความนี้ก็โกหกไม่รู้อีกกี่ชั้น 

ตอนนี้ ผมชักสงสัยว่า ศิษยานุศิษย์ของพระมหาโชดกที่ช่วยกันพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นมา มันคงเป็นควายกันทั้งหมด  ไม่ได้รู้เลยว่า ความถูกต้องนั้นคืออะไร

พวกนี้ ทำไมมันถึงได้โง่กันถึงขนาดนั้น...  ขอสรุปหลักฐานสนับสนุนของผมเป็น 5 ข้อ ดังนี้

1) ผมได้บอกไปแล้วว่า วิปัสสนากับสติปัฏฐานนั้น คนละหัวข้อธรรมะ

2) การปฏิบัติธรรมแบบพระพม่าที่รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลานั้น ไม่ใช่ทั้งวิปัสสนา กับ สติปัฏฐาน 4

3) สติปัฏฐานไม่สามารถทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ สติปัฏฐานนั้นอยู่ในโพธิปักขธรรม 37


ขอให้เปรียบเทียบดู สติปัฏฐานนั้น เป็นพื้นฐานของอีก 6 หัวข้อธรรมใหญ่ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องผ่านวิชชา 3 กับอริยสัจ 4 ด้วย 

ขอให้สังเกตดูว่า มรรคมีองค์ 8 นั้น อยู่ในอริยสัจ 4

4) สติปัฏฐานไม่ใช่ทางสายเดียว  ยังมีหัวข้อธรรมอื่นๆ อีกที่เป็นทางสายเดียว เช่น

- ขุททกนิกาย มหานิเทสและจูฬนิเทส
ในขุททกนิกาย มหานิเทสและจูฬนิเทส มีข้อความที่แสดงเอกายนมรรคว่า คือ “สติ” ดังข้อความว่า

“ยา สติ อนุสฺสติ ปฏิสฺสติ, สติ สรณตา ธารณตา อปิลาปนตา อสฺสมฺมุสฺสนตา, สติ สตินฺทฺริยํ สติพลํ สมฺมาสติ สติสมฺโพชฺฌงฺโค เอกายนมคฺโค, อยํ วุจฺจติ สติ”

แปลว่า “ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึกกิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมนี้ เรียกว่า สติ.”

- ขุททกนิกาย มหานิเทสและจูฬนิเทส

“สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 เรียกว่า เอกายนมรรค”

พระมหาโชดก มัวหน้ามืดตามัวก้มกราบพระพม่าตูดกระดก จนไม่ได้เงยหน้ามาอ่านพระไตรปิฎกหรือไงก็ไม่ทราบ ถึงไม่รู้ว่า สติก็คือ ทางสายเดียว โพธิปักขยธรรมก็คือ ทางสายเดียว

พูดให้ชัดๆ ก็คือ หัวข้อธรรมะทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เป็นทางสายเดียวทั้งสิ้น

5) สุดท้ายเลย  พระมหาโชดกเอย พระพม่าเอย สาวกของพระพม่าเอย ผมไม่เห็นว่า พวกนี้จะอธิบายได้เลยว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเดียวอย่างไร

นี่ก็คือ หลักฐานความโง่งี่เง่า ความตระลบตระแลงของพระมหาโชดก ซึ่งลงนรกไปเรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น