บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

คำบรรยายวิปัสสนา


ผมได้วิพากษ์วิจารณ์หนังสือ “หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน” ของพระมหาโชดก หรืพระธรรมธีรราชมหามุนีไปแล้ว  ในบล็อกนี้นี่แหละ

คราวนี้ มาวิพากษ์วิจารณ์หนังสือ “คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน” ของพระมหาโชดกกันบ้าง หนังสือเล่มนี้ หนามาก มีถึง 1,118 หน้า

ที่ผมเอามาอ่านนี้ เอามาจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่ผมสอนอยู่ ณ ขณะนี้  เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2550 จำนวน 6,000 เล่ม

เท่าที่อ่านในคำปรารภจากการพิมพ์ครั้งที่ 1 ปรากฏว่า หนังสือชุดนี้ เดิมมีทั้งหมด 9 เล่ม กับการตีพิมพ์ที่กระจัดกระจายอีกเล็กน้อย  ศิษยานุศิษย์ก็เลยมารวมกัน เพราะ พระมหาโชดกท่านมรณภาพไปแล้ว หลายปี 

สิ่งที่ลูกศิษย์ไม่รู้ก็คือ ไม่รู้ว่ามหาโชดกตายแล้วไปไหน เพราะ มหาโชดกไม่เคยสอนให้ตรวจสอบการตายของใคร  ท่านว่า “เห็น” ไม่ได้

ลูกศิษย์ก็เลยไม่รู้ว่า มหาโชดกตายแล้วไปอยู่ที่ไหน ได้แต่เดาเอาว่า ขึ้นสวรรค์  แต่ความเป็นจริงนั้น มันเป็นคนละเรื่อง หนังคนละม้วนกันเลยทีเดียว

มหาโชดกตกไปในอบายภูมิ ตอนนี้ก็ยังอยู่ในอบายภูมิ  สมความภาคภูมิของท่านแล้ว ที่ดันไปเชื่อพระพม่า แล้วมาโจมตีหลวงพ่อวัดปากน้ำ

หนังสือชุดนี้ของมหาโชดกนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ บอกว่า บรรดาหนังสือทั้งหมดของพระมหาโชดก “หนังสือวิปัสสนากรรมฐาน” เป็นหนังสือชั้นเยี่ยมยอด

เยี่ยมยอดหรือไม่เยี่ยมยอด คนเขียนก็ลงนรกไปแล้ว

สำหรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือ มหาอาจท่านนี้ ตอนนี้อยู่สวรรค์ชั้น 1 เมื่อไหร่หมดบุญจากสวรรค์ชั้นนี้ ผมยืนยัน นอนยันเลยว่า ไปจุติในอบายภูมิแน่นอน

ลงคราวนี้ก็คงลงไปนานแสนนาน ไม่รู้จะไปเจอมหาโชดกหรือเปล่า  

หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ให้อะไรมากนัก ถ้าเปรียบเทียบกับหนังสือของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ต้องกล่าวอย่างนั้นก็เป็นเพราะว่า หนังสือของหลวงพ่อนั้น มีตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงสูงสุด

หนังสือหลวงพ่อมี 4 เล่ม ดังนี้

ทางมรรคผล 18 กาย
คู่มือสมภาร
วิชชามรรคผลพิสดาร
วิชชามรรคผลพิสดาร

นี่ไม่รวมถึงเทศน์ของหลวงพ่ออีกประมาณ 80 กัณฑ์  หนังสือของหลวงพ่อจะเริ่มต้น แล้ววิชาก็สูงขึ้นเรื่อยๆ 

ขอย้ำ ณ ที่นี้ว่า วิชาธรรมกายนั้น เป็นวิชาของพระพุทธเจ้า ดังนั้น ตำราวิชาธรรมกายจึงไม่ได้เป็นองค์ความรู้ต่างหากจากศาสนา แต่เป็นการอธิบายวิธีการปฏิบัติธรรมในพระไตรปิฎก

ส่วนหนังสือของมหาโชดก ระหว่าง หนังสือ “หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน” กับหนังสือ “คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน” แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยในระดับของความรู้ ที่แตกต่างกันก็คือ หนังสือเล่มหลังมีรายละเอียดมากขึ้น

ที่เหมือนกันก็คือ โกหกพกลม ขาดหลักฐานในทางวิชาการโดยสิ้นเชิง 

พระมหาโชดก แกเล่นหมกเม็ด คือ หนังสือเล่มนี้มีการอ้างอิงพระไตรปิฎก โดยอ้างว่า เอามาจากไหนถูกต้อง  แต่เอาไปอ้างผิดๆ  อ้างข้างๆ คูๆ ไปเรื่อย ซึ่งจะได้วิพากษ์วิจารณ์กันในเนื้อหาต่อไป

ตอนนี้ขอบอกคร่าวๆ ก่อนว่า หนังสือเล่มนี้มีอะไรบ้าง  ขอยกเฉพาะในส่วนที่สำคัญๆ ของหนังสือเล่มนี้เท่านั้น

- ธุระในพระพุทธศาสนา
- พระพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนวิปัสสนา  [นี่ก็เริ่มบิดเบือนแล้ว]
- เทวดาปัญหา
- บุญ
- องคคุณของนักปฏิบัติ
- พระรัตนตรัย
- เหตุให้พระสัทธรรมเสื่อม
- อริยสัจ 4
- วัมมิกสูตร
- วิสาขบูชา
- ทาน ศีล ภาวนา
- วิปัสสนาญาณ
- โพธิปักขธรรม 37 ประการ
- มหาสติปัฏฐาน
- ขันธ์ 5
- อายตนะ
- โพชฌงค์
- อริยสัจ 4
- มรรค 8
- อิทธิบาท 4

ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาสารบัญของเนื้อหาดังกล่าวอย่างตั้งใจสักเล็กน้อย จะเห็นว่า การเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ไม่มีอะไรสูงขึ้นกว่าหนังสือ “หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน

ที่เป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะว่า วิธีการปฏิบัติธรรมของพระพม่านั้น ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ

วิธีการของพระพม่านั้น ทำได้อยู่แค่นี้ คือ

รู้สึก” อยู่กับร่างกายตลอดเวลา โดยอาศัยอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย พร้อมกับ “คิด” ไปว่า ร่างกายต้องเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ในท่านั่ง ก็จะ “รู้สึก” อาการต่างๆ ของร่างกาย เช่น ความเจ็บปวด ความฟ้งซ่าน ความคับข้องใจ ฯลฯ เป็นต้น

พระพม่าไม่มีวิธีการปฏิบัติที่สูงไปกว่านี้  ตำราที่เกี่ยวกับการปฏิบัติจึงต้องบิดเบือน ตีความใหม่ให้สอดคล้องกับความเชื่อ

หนังสือพระพม่าจะไม่กล่าวถึงบารมี 30 ทัศ  วิชชา 3  ถ้าจะกล่าวถึงก็จะกล่าวถึงในทำนองโจมตีว่าไม่จริง






2 ความคิดเห็น: