บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ธุระในศาสนา


หัวข้อแรกของหนังสือเล่มนี้ก็คือ “ธุระในพระพุทธศาสนา” พระมหาโชดกบรรยายไว้เมื่อ วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2503 

ตอนนั้น ผมอายุ 4 ขวบ ยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย  ตอนนี้ 59 ขวบ รู้เรื่องดีแล้ว ก็มาวิพากษ์วิจารณ์กัน

พระมหาโชดก ท่านก็บอกว่า ธุระมี 2 อย่างคือ คันถธุระ คือ การเรียน และ วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติ

สาวกของพระพม่าชอบยกตรงนี้มาก เพราะ เข้าใจผิดไปเยอะ คือ ไปคิดว่า “วิปัสสนาธุระ” กับ “วิปัสสนากรรมฐาน” เป็นสิ่งเดียวกัน

จึงมีการตีความเลยเถิดไปว่า วิปัสสนา” ก็สามารถพาไปนิพพานได้  ไปได้อย่างรวดเร็วเสียด้วย

ความจริงวิปัสสนาธุระนั้น  หมายความรวมถึง สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โพธิปักขยธรรม วิชชา 3 ฯลฯ ทั้งหมด  

ต่อมา เนื้อหาของหนังสือก็เป็นดังนี้ คือ มีการตั้งเป็นคำถามคำตอบ ดังนี้

ถาม. สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานต่างกันอย่างไร? มีข้อที่พึงสังเกตตรงไหน?

ตอบ. ต่างกันอย่างนี้คือ

๑. สมถกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายให้สงบใจ มีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์
๒. วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา มีปรมัตถเป็นอารมณ์

กรรมฐานทั้ง ๒ นี้ มีข้อที่จะพึงสังเกตได้ดังนี้คือ

๑. สมถกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายให้สงบใจ มีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ กรรมฐาน ๔๐ นั้นคือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุวตถาน ๑

ถ้าใครเจริญกรรมฐาน ๔๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พุทฺโธ หรือ สมฺมาอรหํ ชื่อว่าเจริญสมถกรรมฐาน

๒. วิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ย่อให้สั้น ได้แก่ รูปนาม เท่านั้น

ถ้าใครเอาขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ผู้นั้นชื่อว่า เจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ที่แสดงมานี้ มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา ทั้งนั้น  [หนังสือคำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน หน้าที่ ๕]

ข้อความที่ผมเน้นสีแดงไว้นั้น คือ ข้อความที่พระมหาโชดกบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นไปตามการตีความที่ผิดๆ ของพระพม่า แบบหมดท่า หมดรูปจริงๆ

จากการอ่านหนังสือของพระมหาโชดกมาหลายเล่ม พระมหาโชดกนี่ ภาษาบาลีท่านใช้ได้จริง แต่แทนที่จะใช้ภาษาบาลีเพื่อสร้างบารมีของตนเอง  พระมหาโชดกกลับไปทำเรื่องให้ตนเองตกนรก และก็ตกนนรกจริงๆ เสียด้วย และน่าจะยาวนานอย่างมาก...............................เสียด้วย

ถ้าพระมหาโชดกซื่อสัตย์ต่อการเรียนภาษาบาลีของตนเอง สอนพุทธศาสนิกชนไปตามหลักการของภาษาบาลีก็คงไม่ตกนรก 

แต่นี่ดันไปเสือกเชื่อพระพม่า  ก็เลยสอนบิดเบือนผิดเพี้ยนไปตามพระพม่า

ข้อความนี้ “วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา มีปรมัตถเป็นอารมณ์ นี่ก็เริ่มบิดเบือนแล้ว และข้อความก็ไม่ตรงกับข้อความด้านล่าง ที่ว่า “วิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ขอให้สังเกตดู เดี๋ยวก็ว่า “มีปรมัตถเป็นอารมณ์” ต่อมาก็ว่า “มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์”  ตกลงแล้วพระมหาโชดก ท่านเข้าใจที่ท่านเขียนหรือเปล่า

ข้อความที่ว่า “มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์”  นั้นยอมรับได้ ถ้าอธิบายแบบซื่อๆ ว่า ต้องเห็นแจ้งใน ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เพราะวิปัสสนาแปลว่า เห็นแจ้ง

พระมหาโชดกไม่เคยสอนให้เห็น  ในประวัติการเรียนของ ดร. สนอง วรอุไรศิษย์เอกของพระมหาโชดก ซึ่งตอนนี้หนีหายไปจากสังคมแล้ว

ดร. สนองบอกว่า “เห็นเทวดา” พระมหาโชดกบอกผิด การเห็นทั้งหมดผิด ห้ามเห็นด้วยประการใดๆ

ส่วนข้อความที่ว่า วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา” นี่ก็ไม่รู้ว่า พระมหาโชดก หมายความว่าอย่างไร

วิปัสสนากรรมฐานก็คือ การปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งต้องเห็นอย่างชัดแจ้ง  ไปเกี่ยวกับ “กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา” ตรงไหน

ต่อมาข้อความท้ายๆ ของเรื่องสมถกรรมฐานที่ว่า “ถ้าใครเจริญกรรมฐาน ๔๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พุทฺโธ หรือ สมฺมาอรหํ ชื่อว่าเจริญสมถกรรมฐานนี่ก็เป็นการโจมตีสายพุทโธ กับสายวิชาธรรมกายว่าเป็นสมถกรรมฐานอย่างเดียว

การโจมตีสายการปฏิบัติธรรมในประเทศไทยว่าเป็นสมถกรรมฐาน ไม่สามารถพาไปนิพพานได้นั้น พระมหาโชดกเขียนไว้หลายที่หลายแห่งเป็นอย่างมาก

ต่อมาข้อความนี้ วิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ย่อให้สั้น ได้แก่ รูปนาม เท่านั้น”  นี่ก็เจตนาบิดเบือน

รูปกับนามนั้น หมายถึง “ขันธ์ 5” เท่านั้น ไม่มีหมายถึงหัวข้อธรรมะอื่นๆ รูป = กาย  นาม = เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แค่นั้น

หัวข้อธรรมะอื่นๆ ทั้งหมด เป็นรูปนามไม่ได้อีกแล้ว 

สุดท้ายเลยก็ข้อความนี้ “ที่แสดงมานี้ มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา ทั้งนั้นอันนี้ไม่จริง อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้ว 

พระมหาโชดกใช้วิธีการโกงแบบหมกเม็ด คือ อ้างพระไตรปิฎกเฉพาะที่มาของข้อความ แต่ไม่ได้อ้างพระไตรปิฎกในกรณีที่มีการสนับสนุน 

เอาง่ายๆ เลยก็คือ ข้อความที่ผมวิพากษ์วิจารณ์ไปนั้น พระมหาโชดกไม่เคยอ้างถึงพระไตรปิฏกเลย เพราะ มันไม่มีหลักฐานใดๆ ในพระไตรปิฎก

พระมหาโชดกบ้า เพ้อ เพี้ยน ไปตามคำสอนของพระพม่าแบบมืดบอดทางปัญญา เท่านั้น






1 ความคิดเห็น:

  1. ที่ว่ามาก็ไม่เห็นจะขัดกับพระไตรปิฎกตรงไหน ผมขอแบบชัดๆเน้นๆสักข้อได้ไหม ให้ประเทืองปัญญาน้อยๆของผมสักหน่อย ที่คุณว่ามาทั้งหมดเนี่ย ผมว่าศิษย์มหาโชดกคงตอบได้ไม่ยาก

    ตอบลบ